วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู


คุณธรรม 

"คุณธรรม"คือ ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็นสุภาพชน เป็นต้น จนเกิดจิตสำนึกที่ดี รู้สึกรับผิดชอบ ชั่ว ดี เกรงกลัวต่อการกระทำความชั่ว โดยประการต่างๆ เมื่อจิตเกิดคุณธรรมขึ้นแล้ว จะทำให้เป็นผู้มีจิตใจดี และคิดแต่สิ่งที่ดี  จึงได้ชื่อว่า  “เป็นผู้มีคุณธรรม

จริยธรรม

"จริยธรรม"คือ การประพฤติปฏิบัติ การกระทำดี ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจ  ปรากฏเป็นความดีงาม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ เมื่อความดีงาม มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็นสุภาพชน เป็นต้น ถูกแสดงออกทางจรรยา มารยาท การประพฤติปฏิบัติ และการกระทำที่ดี  ตามคุณธรรมที่มีในจิตใจนั้น  จึงได้ชื่อว่า “เป็นผู้มีจริยธรรม"


ความเป็นครู

            ครู ซึ่งมาจากคำว่า คุรุ แปลว่า หนัก ฉะนั้นแล้วครูจึงเป็นผู้หนัก หนักในเรื่องใดบ้าง  เช่น หนักในการที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ หนักในการที่จะสอนคนหลาย ๆคนให้เป็นคนที่ดีเป็นบุคคลที่สังคมมีความต้องการ และการที่เราจะสามารถสอนคนเหล่านั้นได้เราจะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล เหล่านั้นดีพอสมควรเราจึงจะสามารถสอนเขาได้ ซึ่งเข้ากับสุภาษิตจีนที่ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” การสอนคนก็เช่นเดียวกัน การสอนก็เปรียบเสมือนกับการรบที่จะต้องมีการใช้ แรงกาย แรงใจ และกำลังสมองในการที่จะมาคิดกาวิธีทางที่จะเอาชนะข้าศึก ซึ่งก็เปรียบได้กับ ความไม่รู้หรือความเขลาในตัวศิษย์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ เรื่องราว หรือพื้นเพของคนที่เราเรียกว่าศิษย์นั้นก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่จะเอาชนะ ความเขลา หรือข้าศึกในการรบได้          
         ความหมายของครู กล่าวคือ ผู้ที่เป็นครูควรมีภาวะดังกล่าวอันได้แก่ ความรู้ ความประพฤติและคุณธรรม ไม่ว่าครูนั้นจะอยู่ ณ ที่ใด หน่วยงานไหน หรือซีกใดของโลก         
          อย่างไรก็ตาม ยังมีความหมายของครูอีกอย่างหนึ่งที่กำหนดโดยกฎหมายให้เป็นรูปแบบ แบ่งเป็นชั้นหรือระดับสูงต่ำแตกต่างกัน และอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่าเกียรติหรือศักดิ์ศรี แทรกซ้อนอยู่ในรูปแบบนั้นด้วย ซึ่งบางทีอาจปิดกั้นไม่ให้มองเห็นความหมายตามเนื้อแท้ก็ได้ ความหมายของครูที่กำหนดโดยกฎหมายนี้อาจเรียกว่า "ความหมายของครูตามรูปแบบ"


คุณธรรม จริยธรรมของครู                               

1.ครูต้องมีความขยันหมั่นเพียร             
2.
ครูต้องมีวินัยตนเอง           
3.
ครูต้องรู้จักปรับปรุงตนเอง           
4.
ครูต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่น         
5.
ครูต้องบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน           
6.
ครูต้องเสียสละเพื่อสาธารณะประโยชน์       
7.
ครูต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น             
8.
ครูต้องมีความกตัญญูกตเวที           
9.
ครูต้องไม่ประมาท           
10.
ครูต้องปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี       
11.
ครูต้องมีสัจจะและแสดงความจริงใจ             
12.
ครูต้องมีความเมตตากรุณา   
13.
ครูต้องมีความอดทน อดกลั้น             
14.
ครูต้องมีความซื่อสัตย์         
15.
ครูต้องมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา       
16.
ครูต้องมีการให้อภัย           
17.
ครูต้องประหยัดและอดออม             
18.
ครูต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่             
19.
ครูต้องมีความรับผิดชอบ           
20.
ครูต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

 หน้าที่ของครู

          หน้าที่ ของครู คือสร้างความอยู่รอดของสังคม โดยการให้การศึกษาที่สมบูรณ์แก่ศิษย์ การศึกษาที่สมบูรณ์คือ การศึกษาที่ครบองค์สาม อันได้แก่          
๑. ให้ความรู้ทางโลก หมายถึง การเรียนหนังสือ เพื่อพัฒนาสติปัญญาและการเรียนวิชาชีพ เพื่อให้สามารถอยู่รอดทางกาย          
๒. ให้ความรู้ทางธรรม เพื่อให้ใจอยู่รอด คือรอดพ้นจากความครอบงำของกิเลส มีความเป็นมนุษย์ คือใจสูง ใจสว่าง และใจสงบ          
๓. ให้รู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์ ทั้งต่อตนเองและสังคม

คุณลักษณะที่ดีของครู

๑. ครูต้องมีลักษณะบากบั่น ต่อสู้ อดทน สร้างคนให้เป็นคนดีให้ได้
๒. ครูต้องมีลักษณะครบถ้วนทุกด้าน ให้สมกับที่คนยกย่องนับถือว่ามีใจประเสริฐ
๓. ครูต้องงดเว้นอบายมุขทุกอย่าง เช่น การดื่มเหล้า เล่นการพนัน
๔. ครูต้องเป็นคนมีน้ำใจสะอาด มีความเสียสละมากไม่จำเป็นต้องมีปริญญาการศึกษาสูงเสมอไป ขอเพียงแต่มีความจริงใจ มีใจรักในความเป็นครู
๕. ครูควรให้เวลาแก่เด็กนักเรียน ในการที่จะศึกษาปัญหาต่าง ๆ และฟังความคิดเห็นของเด็กบ้าง
๖. ครูควรทำตัวให้ดี มีนิสัยดี เพื่อลบล้างข่าวที่ไม่ดีเกี่ยวกับครูตามที่ปรากฏในสื่อมวลชนต่าง ๆ
๗. ครูไม่ควรถือตัว ควรเข้ากับทุกคนแม้จะเป็นคนยากจนก็ตาม
๘. ครูควรมีลักษณะพร้อมที่จะสร้างคนให้เป็นคนดีมีความรู้ ความคิดและเป็นคนดี๙. ครูต้องเป็นคนสามารถสร้างสรรค์สังคมและช่วยเหลือประเทศชาติเป็นอันดับแรก ดังนั้น ครูต้องขยันอย่างน้อยให้ใกล้เคียงกับคนที่ทำงานธนาคาร
๑๐. ในด้านความรู้ ชาวบ้านมีความศรัทธาว่า ครูมีความรู้ดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ครู ควรจะมีให้มากคือด้านความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี

คุณธรรมความเป็นครู

      คุณธรรม ความเป็นครูในบทความนี้เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวสำหรับคนที่ประกอบวิชาชีพครู ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายนอกตัวครูอื่นอีก ไม่ว่าระบบบริหารสถาบันวิชาชีพ จรรยาบรรณ หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ คำ ว่า "ครู" นั้น แม้โดยรูปแบบจะมีการแบ่งเป็นกลุ่ม ระดับตามลักษณะงาน และระดับการศึกษาที่ตนมีบทบาทหน้าที่ก็ตาม แต่โดยเนื้อแท้ ครูต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติหรือองค์ประกอบ ๓ ประกอบคือ ๑) มีความรู้ดี ๒) มีความประพฤติดี และ ๓) มีคุณธรรม  หากขาดคุณสมบัติทั้งสามนี้ ก็ยากที่จะคงบทบาทแห่งความเป็นครูอยู่ได้           
         บทบาท แห่งความเป็นครูนั้น แม้จะกำหนดไว้แตกต่างกันตามลักษณะประเภทองค์กรที่ครูสังกัด แต่ก็อยู่ในกรอบใหญ่ ๓ กรอบตามคุณสมบัติของครูนั่นเอง คือบทบาทในกรอบความรู้ กรอบความประพฤติ และกรอบคุณธรรมแม้จะมีกรอบททั้งสามนี้แล้วก็ตาม แต่เนื่องจากภาวการณ์ปัจจุบันเป็นภาวการณ์วิกฤต ตามกระแสโลกาภิวัตน์ การออกนอกกรอบอาจเกิดขึ้นได้ อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความวุ่นวายในสังคม เพราะสังคมนั้น ประกอบด้วยบุคคลจำนวนมาก ซึ่งแต่ละคนย่อมได้รับการศึกษาอบรมไปจากครู เมื่อครู ซึ่งเป็นต้นแบบออกนอกกรอบ ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าผลผลิตก็จะออกนอกกรอบไปด้วย           
        ดังนั้นจึงจำเป็นที่ครูต้องมีปรัชญาและคุณธรรมที่เสริมเพิ่มความเป็นครู ในด้านปรัชญานั้นควรที่จะยึดหรือยืนอยู่ตรงจุดที่มีดุลยภาพ คือตรงจุดกึ่งกลางแห่งกระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้เกิดความรวดเร็ว และชลอความเร็วเกินขนาดจนอาจเป็นอันตรายได้ใน ด้านคุณธรรม โดยสามัญสำนึก ทุกคนย่อมตระหนักได้เองว่า อะไรดีไม่ดี ควรไม่ควร ถ้าคนนั้นผ่านการกล่อมเกลาทางสังคมมาระดับหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นครูได้ผ่านการกล่อมเกลา และกรองมาแล้วหลายระดับและหลายครั้ง ย่อมทราบโดยสำนึกแน่นอนว่าอะไรดีควรทำตามหน้าที่ นั่นหมายความว่า คุณธรรมเป็นสิ่งที่มีประจำใจของใคร ๆ อยู่แล้ว           
         อย่างไรก็ตาม ในแง่การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ต้องคำนึงขั้นตอนการพัฒนาตามหลัก ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิปละปัญญา เพราะเมื่อดำเนินการตามหลักนี้แล้ว จะทำให้เกิดคุณธรรมอื่น ๆ ติดตามมาโดยอัตโนมัติ ในฐานะที่หลักไตรสิกขานั้นเป็นหลักเพื่อการพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อมุ่งไปสู่พุทธิปัญญาที่จะทำให้มีอิสระปลอดโปร่ง และปลอดภัยอย่างแท้จริง อันเป็นที่ปรารถนาของคนทุกระดับที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่จะขวนขวายแสวงหาเพื่อการพัฒนาด้วยตน เอง โดยไม่สัมพันธ์กับระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบบริหารจัดการบุคลากรครูอันเป็นโครงสร้างและสิ่งแวด ล้อมสำคัญที่จะให้เกิดการปฏิบัติดังกล่าว จึงน่าจะมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการดังกล่าวเกี่ยวกับบุคลากร ครู ข้อเสนอแนะบางประการ ดังนี้           
๑. ครูในฐานะปัจเจกบุคคลต้องมีใจพร้อมที่จะทำหน้าที่ครู เป้าหมายคือยกระดับวิญญาณมนุษย์ ไม่ใช่ยกระดับความรู้เท่านั้น          
๒. รัฐต้องปฏิรูปครูทั้งระบบทุกระดับ ตั้งแต่ครูก่อนประถมจนถึงรถดับอุดมศึกษา (ผู้ทำหน้าที่สอนทุกระดับถือว่าเป็นครู) โดยปฏิรูปทั้งระบบการผลิต การใช้และการพัฒนา           
๓. ถ้าถือว่าวัยต้น ๆ ของคนเป็นวัยที่มีความสำคัญ เพราะเป็นวัยที่วางรากฐานการพัฒนาที่สำคัญที่สุด เป็นวัยที่ชี้ทิศทางแห่งการพัฒนาวัยต่อ ๆ ไปแล้ว ครูในระดับต้น ๆ คือก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาก็ควรจะได้รับความสำคัญเป็นพิเศษด้วย โดยเฉพาะแง่ความก้าวหน้าทั้งทางวิชาการและวิชาชีพครู กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่ล้าสมัย น่าจะได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ครูในระดับต้น ๆ ได้รับความสำคัญเป็นพิเศษดังกล่าว ทางก้าวหน้าของครูในระดับต้น ๆ น่าจะมีช่องทางเหมือนกันกับครูในระดับสูง ๆ ตำแหน่งทางวิชาการไม่ว่าจะโดยชื่อ หรือสิทธิประโยชน์อันมากับตำแหน่งนั้น น่าจะมีเหมือนกันและเท่ากันสำหรับครูทุกระดับ ศาสตราจารย์มีได้แม้ในครูอนุบาล ถ้าคุณภาพทางวิชาการถึงระดับกำหนด           
๔. ในขณะที่ยุคนี้ เทคโนโลยีกำลังมาแรง ครูและผู้จัดระบบการบริหารจัดการครู ต้องตั้งสติให้ดีว่า คนจะต้องใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเท่านั้น อย่าหลงหรือเผลอให้เทคโนโลยีมาใช้คน โดยไม่รู้ตัว เพราะมิฉะนั้น จะถึงจุดอันตราย ที่ความเป็นมนุษย์จะสูญสิ้น จะมีแต่ความเป็นวัตถุเมื่อถึงขั้นนั้น คนจะพูดกันด้วยเหตุผลไม่รู้เรื่อง แต่จะพูดกันด้วยวัตถุ หรือเงิน หรือผลประโยชน์อื่น ๆ           

๕. สภาพแวดล้อมทางสื่อสารมวลชนมีบทบาทสำคัญเสมือนหนึ่งเป็นครูโดยอัตโนมัติ เพราะสามารถสื่อความหมายสิ่งต่าง ๆ ทั้งดีและไม่ดีที่มีอิทธิพลต่อคนไม่ยิ่งหย่อนหรือมากไปกว่าครูด้วยซ้ำไป ดังนั้น วิชาการทางสื่อสารมวลชนไม่ว่าจะเป็นนิเทศศาสตร์หรือชื่ออื่นใด ควรจะมีวิชาคุณธรรมความเป็นครูให้ศึกษาด้วย และให้ผู้ประกอบอาชีพด้านนี้ มีความรู้สึกว่าตัวเองเป็นหรือเสมือนเป็นครูคนหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อความรู้สึกรับผิดชอบต่อผลของการเสนอข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น