วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ศาสนา (วันวิสาขบูชา)



ประวัติวันวิสาขบูชา

ความหมายของ วันวิสาขบูชา

          คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6
 

การกำหนด วันวิสาขบูชา           

        วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

การละเล่นไทย(วิ่งกระสอบ)


การละเล่นไทย(วิ่งกระสอบ)

      การวิ่งกระสอบ เป็นกีฬาพื้นบ้านโดยผู้เล่นใช้ 2 มือจับปากกระสอบให้เปิดกว้างแล้ว ขา 2 ข้างสวมเข้าไปในกระสอบ ยืนอยู่ด้านหลังเส้นเริ่มการแข่งขัน เมื่อได้ยินสัญญาณไปยังเส้นชัย ผู้ที่วิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ ซึ่งการวิ่งกระสอบนี้ นิยมเล่นกันในประเพณีวันสงกรานต์ ซึ่งจะมีการละเล่นพื้นบ้านอีกมากมายที่จะทำให้งานประเพณีนั้นๆ เกิดความสนุกสนานและเป็นการเชื่อมความสามัคคีของคนในชุมชนอีกด้วย พร้อมทั้งเป็นการพบปะของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ที่จากบ้านไปทำงานต่างถิ่น พอถึงประเพณีสงกรานต์ก็จะกลับบ้านมาทำบุญตักบาตร อาบน้ำดำหัวให้ผู้หลักผู้สูงอายุที่ตนนับถือ

ประเพณีแห่เทียนพรรษา



ประเพณีแห่เทียนพรรษา

กำเนิดเทียนพรรษา       

         

        ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นับถือวัวเพราะถือว่า วัวเป็นพาหนะของพระอิศวร เมื่อวัวตาย จะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาพระผู้เป็นเจ้าที่ตนเคารพ  แต่ชาวพุทธซึ่งนับถือศาสนาพุทธจะทำเทียนเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัย โดยการเอารังผึ้ง ร้างมาต้มเอาขี้ผึ้ง แล้วฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็ก ๆ มีความยาวตามต้องการ เช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็น ศอกแล้วใช้จุดบูชาพระ  เทียนพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไป ถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน  เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)


ประเพณีลอยกระทง




ประวัติความเป็นมาประเพณีลอยกระทง

           ลอยกระทง (Loi Krathong Day) เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคมลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนาก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย 

คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู


คุณธรรม 

"คุณธรรม"คือ ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็นสุภาพชน เป็นต้น จนเกิดจิตสำนึกที่ดี รู้สึกรับผิดชอบ ชั่ว ดี เกรงกลัวต่อการกระทำความชั่ว โดยประการต่างๆ เมื่อจิตเกิดคุณธรรมขึ้นแล้ว จะทำให้เป็นผู้มีจิตใจดี และคิดแต่สิ่งที่ดี  จึงได้ชื่อว่า  “เป็นผู้มีคุณธรรม

จริยธรรม

"จริยธรรม"คือ การประพฤติปฏิบัติ การกระทำดี ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจ  ปรากฏเป็นความดีงาม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ เมื่อความดีงาม มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็นสุภาพชน เป็นต้น ถูกแสดงออกทางจรรยา มารยาท การประพฤติปฏิบัติ และการกระทำที่ดี  ตามคุณธรรมที่มีในจิตใจนั้น  จึงได้ชื่อว่า “เป็นผู้มีจริยธรรม"